ฟัลคอน เฮฟวีax L Kk l Mc Dt(ahá :lsamWn C Nep Bb
![]() ฟัลคอน เฮฟวี บนแท่นปล่อยตัว LC-39A ขณะกำลังเตรียมบินครั้งแรก | |
หน้าที่ | ยานปล่อยตัวขนน้ำหนักเกินปกติในวงโคจร |
---|---|
ผู้ผลิต | สเปซเอ็กซ์ |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
ขนาด | |
สูง | 70 m (230 ft)[1] |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 3.66 m (12.0 ft)[1] |
มวล | 1,420,788 กก. (3,132,300 ปอนด์)[1] |
ส่วน | 2+ |
ความจุ | |
น้ำหนักบรรทุกสู่ LEO (28.5°) | 63,800 กก. (141,000 ปอนด์)[1] |
น้ำหนักบรรทุกสู่ GTO (27°) | 26,700 กก. (59,000 ปอนด์)[1] |
น้ำหนักบรรทุกสู่ ดาวอังคาร | 16,800 กก. (37,000 ปอนด์)[1] |
น้ำหนักบรรทุกสู่ พลูโต | 3,500 กก. (7,700 ปอนด์)[1] |
จรวดที่เกี่ยวข้อง | |
ครอบครัว | ฟัลคอน 9 |
เปรียบเทียบได้ |
|
ประวัติการบิน | |
สถานะ | ใช้งานอยู่ |
จุดปล่อยตัว |
|
จำนวนเที่ยวบิน | 3 |
สำเร็จ | 3 |
ล้มเหลว | 0 |
ล้มเหลวบางส่วน | 0 |
เที่ยวบินแรก | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[2][3] |
บูสเตอร์ส์ | |
จำนวนบูสเตอร์ | 2 |
เครื่องยนตร์ | 9 Merlin 1D |
แรงส่ง | ระดับน้ำทะเล: 7.6 MN (1,700,000 lbf) (ต่อชิ้น) สุญญากาศ: 8.2 MN (1,800,000 lbf) (ต่อชิ้น) |
แรงส่งรวม | ระดับน้ำทะเล: 15.2 MN (3,400,000 lbf) สุญญากาศ: 16.4 MN (3,700,000 lbf) |
แรงดลจำเพาะ | ระดับน้ำทะเล: 282 วินาที[4] สุญญากาศ: 311 วินาที[5] |
ระยะเวลาการเผาไหม้ | 154 วินาที |
เชื้อเพลิง | Subcooled LOX / Chilled RP-1[6] |
ส่วนแรก | |
เครื่องยนตร์ | 9 Merlin 1D |
แรงส่ง | ระดับน้ำทะเล: 7.6 MN (1,700,000 lbf) สุญญากาศ: 8.2 MN (1,800,000 lbf) |
แรงดลจำเพาะ | ระดับน้ำทะเล: 282 วินาที สุญญากาศ: 311 วินาที |
ระยะเวลาการเผาไหม้ | 187 วินาที |
เชื้อเพลิง | Subcooled LOX / Chilled RP-1 |
ส่วนสอง | |
เครื่องยนตร์ | 1 Merlin 1D Vacuum |
แรงส่ง | 934 กN (210,000 lbf)[1] |
แรงดลจำเพาะ | 348 วินาที[1] |
ระยะเวลาการเผาไหม้ | 397 วินาที[1] |
เชื้อเพลิง | LOX / RP-1 |
ฟัลคอน เฮฟวี (อังกฤษ: Falcon Heavy) เป็นยานปล่อยตัวขนน้ำหนักเกินปกติ (super heavy-lift launch vehicle) ซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ออกแบบและผลิตโดยสเปซเอ็กซ์ ฟัลคอน เฮฟวี (เดิมเรียกว่า ฟัลคอน 9 เฮฟวี) เป็นรุ่นปรับแต่งของยานฟัลคอน 9 และมีส่วนประกอบของโครงสร้างหลักจากจรวดฟัลคอน 9 ที่ถูกเพิ่มความแข็งแรง และมีจรวดส่วนแรกของฟัลคอน 9 จำนวนสองลำรัดติดเพื่อใช้เป็นบูสเตอร์ (strap-on boosters)[7] สิ่งนี้ช่วยเพิ่มน้ำหนักบรรทุกในวงโคจรต่ำของโลก (LEO) เป็น 63,800 กิโลกรัม เทียบกับจำนวน 22,800 กิโลกรัมสำหรับฟัลคอน 9 ฟูล ทรัสต์ (Falcon 9 full thrust); 27,500 กิโลกรัมสำหรับกระสวยอวกาศของนาซ่าซึ่งปัจจุบันถูกปลดระวางแล้ว และ 140,000 กก. สำหรับแซทเทิร์นไฟว์ (Saturn V)
ฟัลคอน เฮฟวีเป็นจรวดที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดอันดับที่ 4 เท่าที่เคยถูกสร้าง ต่อจาก แซทเทิร์นไฟว์, Energia และ N1 และ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ฟัลคอน เฮฟวี ถือเป็นจรวดที่มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่อยู่ระหว่างใช้งาน โดยบรรทุกได้มากกว่าสองเท่าของ Delta IV Heavy
ฟัลคอน เฮฟวี ได้รับการออกแบบสำหรับบรรทุกมนุษย์ไปยังอวกาศ รวมถึงดวงจันทร์และดาวอังคาร แม้ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 จะยังไม่มีแผนการใช้ฟัลคอน เฮฟวี ในภารกิจขนส่งคน แต่มีแผนที่จะใช้เพื่อขนส่งน้ำหนักมาก เช่น ดาวเทียมขนาดใหญ่[8]
สเปซเอ็กซ์ประสบความสำเร็จในการปล่อยฟัลคอน เฮฟวี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ณ เวลา 15:45 (EST) หรือเวลา 03:45 น. ของวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ในประเทศไทย[9][3][10] ในการปล่อยตัวครั้งแรกได้บรรทุกบนรถเทสลา โรดสเตอร์ (Tesla Roadster) สี midnight cherry ของอีลอน มัสก์ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์เป็นน้ำหนักหลอก[11][12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 1.9 "Falcon Heavy". SpaceX. สืบค้นเมื่อ April 5, 2017.
- ↑ Elon Musk [elonmusk] (January 27, 2018). "Aiming for first flight of Falcon Heavy on Feb 6 from Apollo launchpad 39A at Cape Kennedy. Easy viewing from the public causeway" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 3.0 3.1 "Launch Calendar". สืบค้นเมื่อ January 25, 2018.
- ↑ "Falcon 9". SpaceX. Archived from the original on May 1, 2013. สืบค้นเมื่อ September 29, 2013.
- ↑ Ahmad, Taseer; Ammar, Ahmed; Kamara, Ahmed; Lim, Gabriel; Magowan, Caitlin; Todorova, Blaga; Tse, Yee Cheung; White, Tom. "The Mars Society Inspiration Mars International Student Design Competition" (PDF). Mars Society. สืบค้นเมื่อ October 24, 2015.
- ↑ elonmusk (December 17, 2015). "-340 F in this case. Deep cryo increases density and amplifies rocket performance. First time anyone has gone this low for O2. [RP-1 chilled] from 70F to 20 F" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ December 19, 2015 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Falcon 9 Overview". SpaceX. May 8, 2010. Archived from the original on August 5, 2014.
- ↑ Pasztor, Andy. "Elon Musk Says SpaceX's New Falcon Heavy Rocket Unlikely to Carry Astronauts". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ February 6, 2018.
- ↑ "SpaceX Falcon Heavy launch successful". CBS News. February 6, 2018.
- ↑ "Launch Calendar - SpaceFlight Insider". www.spaceflightinsider.com. สืบค้นเมื่อ February 6, 2018.
- ↑ Musk, Elon [elonmusk] (December 1, 2017). "Falcon Heavy to launch next month from Apollo 11 pad at the Cape. Will have double thrust of next largest rocket. Guaranteed to be exciting, one way or another" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Elon Musk's huge Falcon Heavy rocket set for launch". BBC. February 6, 2018. สืบค้นเมื่อ February 6, 2018.
|